ดูก่อน อานนท์ ธรรมก็ดี วินัยก็ดี อันใด อันเรา
แสดงแล้ว ได้บัญญัติแล้ว แก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น
จักเป็นศาสดา แห่งพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา

(พระไตรปิฎก ชุด ๙๑ เล่ม มหามกุฏราชวิทยาลัย เล่ม ๑๓ หน้า ๒๓๐ สีน้ำเงิน)

ข้าพเจ้ากราบปวารณาเป็นศิษย์พระอาจารย์

เมื่อเดือนพฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๐ ครั้งแรกที่ได้ไปกราบท่าน เนื่องในวันคล้ายวันเกิด
จากการบอกเล่าของน้องๆ ที่เป็นกัลยาณมิตรทั้งทางโลกและทางธรรม และต้องขอขอบพระคุณ
ผู้ที่พาไปยังสถานที่ให้ชีวิตใหม่ที่ดีงามแก่ข้าพเจ้า คือดอยเวียงเกี๋ยงวนา

   ธรรมะเข้าสู่จิตเข้าสู่ใจของข้าพเจ้าอย่างแท้จริงก็ตอนที่ได้ฟังธรรมจากการเทศน์ของพระอาจารย์
ทุกถ้อยทุกคำที่ท่านเทศน์ที่ท่านสอนล้วนเป็นความจริง เป็นสัจธรรม ธรรมะทุกขั้นทุกตอนที่ท่าน
แสดงทั้งเบื้องต้น...ท่ามกลาง... และที่สุด เป็นสิ่งที่จิตของข้าพเจ้ายอมรับด้วยความนอบน้อม
(เทศน์ไขข้อข้องใจ ครั้งที่ ๒) ต่อจากนั้นข้าพเจ้าก็เริ่มปฏิบัติธรรม อย่างจริงจัง โดยเริ่มท่อง
ธาตุกัมมัฏฐาน ๔ ตามที่พระอาจารย์สอน การท่องธาตุกัมมัฏฐาน ๔ นั้นไม่ธรรมดาเลย 
แท้ที่จริงก็คือ “การภาวนา” นั่นเอง 

   บุญที่เกิดจากการท่องธาตุกัมมัฏฐาน ๔ นั้นมากมายมหาศาล มีอานิสงส์มากกว่าการทำบุญให้
ทานหลายเท่า (ข้าพเจ้ามาทราบภายหลัง ศิษย์ผู้พี่บอก ปัจจุบันท่านบวชแล้ว)

   การท่องธาตุกัมมัฏฐาน ๔ ข้าพเจ้าเริ่มจากธาตุดิน คือ ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น 
กระดูก เยื่อในกระดูก ม้าม หัวใจ ตับ พังผืด ไต ปอด ไส้ใหญ่ ไส้น้อย อาหารใหม่ อาหารเก่า 
ส่วนเหล่านี้เป็นธาตุดิน จิตของข้าพเจ้าน้อมรับจริงๆ ว่ามันเป็นดิน มันเห็นว่าเป็นดินก็คือดิน 
ไม่ปฏิเสธว่าไม่ใช่ดิน มันคือดิน มันแข้นแข็ง มันคือดิน(ปฐวีธาตุ)  ส่วนที่มันเอิบอาบเป็นของ
เหลวอยู่ในกาย คือ ธาตุน้ำ สิ่งที่อยู่ในร่างกายเป็นน้ำ คือ  ดี เสลด หนอง เลือด มันเหงื่อ 
มันข้น น้ำตา เปลวมัน น้ำลาย น้ำมูก ไขข้อ มูตร(ปัสสาวะ) นี่คือธาตุน้ำ(อาโปธาตุ) 
  
   จิตของข้าพเจ้าน้อมรับว่าเป็นน้ำจริงๆ ไม่คัดค้านเลย  ธาตุไฟ คือความร้อนที่อยู่ในกาย คือ
ไฟที่ยังกายให้อบอุ่น ไฟที่ยังกายให้ทรุดโทรม ไฟที่ยังกายให้กระวนกระวาย ไฟที่เผาผลาญอาหาร
ให้ย่อย นี่คือไฟจริงๆ รู้ได้ชัดก็ตอนที่เป็นไข้ตัวร้อน ความร้อนก็มาจากไฟในกายนี่แหละ มันเป็น
อย่างนั้น(เตโชธาตุ)  ธาตุลม คือ ลมพัดขึ้นเบื้องบน ลมพัดลงเบื้องล่าง ลมในท้อง ลมในไส้
ลมพัดไปตามตัว ลมหายใจ ทุกคนก็รู้จัก ลมเหล่านี้อยู่ในกายทั้งนั้น(วาโยธาตุ) ความกำหนด
พิจารณากายนี้ให้รู้เห็นว่า เป็นแต่เพียงธาตุทั้ง ๔ ประชุมกันอยู่ ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของๆ เรา
เรียกธาตุกัมมัฏฐาน ข้าพเจ้าท่องไปก็เห็นไป ยิ่งท่องก็ยิ่งเห็น เห็นทุกสิ่งทุกอย่างที่มันอยู่ในร่างกาย
เห็นชัดขึ้นๆ เห็นจนมันไม่มีอะไรเป็นตัวเป็นตนของร่างกายเลย เห็นมีแต่ดิน น้ำ ไฟ ลม เท่านั้น 
ทุกวันนี้ก็ยังเห็นตัวเองไม่มีตัว และเห็นทุกคนไม่ใช่สัตว์ บุคคล ตัวตน เรา เขา ร่างกายคนเราล้วน
แต่เป็นสิ่งปฏิกูล โสโครก น่ารังเกียจขยะแขยงที่สุด

   ข้าพเจ้าท่องธาตุกัมมัฏฐาน ๔ พร้อมทั้งเห็นส่วนของร่างกายเป็นธาตุไปพร้อม การปฏิบัติธรรม
ของข้าพเจ้าเลยไปได้เร็วและดีมาก อานิสงส์ผลบุญจากการท่องธาตุกัมมัฏฐาน ๔ 
ทุกครั้งที่ท่อง(ภาวนา) ข้าพเจ้าจะแปรสภาพบุญแล้วอุทิศว่า


  “ขออำนาจพุทธ ธรรม สงฆ์ จงบันดาลบุญที่เกิดจากการท่องธาตุกัมมัฏฐาน ๔ นี้ 
ให้ญาติทิพย์ เทวดารักษา นายเวร และเชื้อโรค ของข้าพเจ้า”
                  

เมื่อชาวทิพย์เขาได้รับบุญแล้ว เขาก็จะคอยช่วยเหลือ ดูแลรักษา เขาจะไม่ก่อกวน ข้าพเจ้าน้อมรับ
ชาวทิพย์ว่ามีอยู่จริงๆ ความเชื่อมั่นของข้าพเจ้าในเรื่องธาตุกัมมัฏฐาน ๔ นี้ เป็นบาทฐานสู่มรรค
ผล นิพพานเป็นที่สุด ถ้ามีความเห็นถูกต้องเรื่องของร่างกายเป็นอันดับแรก ข้าพเจ้าเล่า
ประสบการณ์ไว้เท่านี้ก่อน เพราะหัวข้อ คือ:- “ธาตุกัมมัฏฐาน ๔”
          

ข้าพเจ้าขอใช้นามแฝง ว่า “ศิษย์พระอาจารย์ต้น”

ประกาศ

เนื่องจากคณะผู้จัดทำมีวัตถุประสงค์เพื่อต้องการเผย
แผ่คำสอนของพระพุทธเจ้า
และเปิดเผยความจริงโดย
ไม่มีวัตถุประสงค์อื่น


สื่อจากสำนักปฏิบัติธรรม
ดอยเวียงเกี๋ยงวนา
แจกฟรีไม่มีการขาย

 

ธรรมะ
เสียงธรรม

 ส่วนสุด(โต่ง) และ การปฏิบัติต่อความทุกข์

 ระวังใจ

 ติดดี

 จุดประสงค์ของการรักษาศีล

 กิเลสกับเรา

 ยากที่ด่านแรก

 ฝึกทำสมาธิโดยอาศัยความคิด

 ปัญญา. รู้ชัดการละ

 โลกนี้ตั้งอยู่ได้ด้วยการให้

 เทศน์วันถวายโรงครัว 1 ระลึกถึงความตายกับการเข้าสู่มรรค

 เทศน์วันถวายโรงครัว 2 จิต-สติ-ความคิด สักกายทิฏฐิ-วิจิกิจฉา-สีลัพพตปรามาส

 เทศน์วันถวายโรงครัว 3 _สมาธิ ๔ ประเภท

 เทศน์วันถวายโรงครัว

 เคล็ดการดู(สัญญา)ขันธ์

 เครื่องคุ้มครองผู้ปฏิบัติ

 อ.ต้น สอนนั่งสมาธิ

 ผู้กล้าหรือผู้กลัว

 ที่พึ่งในใจจริงๆ

 ชอบ-ชัง ภาค 2

 ฉฬายตนวิภังคสูตร

 องค์แห่งโพชฌงค์ในจิต

 เมตตาจิตกับการก้าวล่วง

 ศาสนาแห่งความกล้า

 ฟังด้วยดี ย่อมได้ปัญญา

 โปฏฐปาทสูตร 2