ดูก่อน อานนท์ ธรรมก็ดี วินัยก็ดี อันใด อันเรา
แสดงแล้ว ได้บัญญัติแล้ว แก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น
จักเป็นศาสดา แห่งพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา

(พระไตรปิฎก ชุด ๙๑ เล่ม มหามกุฏราชวิทยาลัย เล่ม ๑๓ หน้า ๒๓๐ สีน้ำเงิน)

วิธีเจริญกายคตาสติที่มีผลมาก

 	ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้  สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้า ประทับอยู่ที่พระวิหาร 
เชตะวัน อารามของอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี

	ครั้งนั้นแล ภิกษุมากด้วยกันกลับจากบิณฑบาต ภายหลังเวลาอาหารแล้ว นั่งประชุม
กันในอุปัฏฐานศาลาเกิดข้อสนทนากันขึ้นในระหว่างดังนี้ว่า “ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย 
น่าอัศจรรย์จริง! ไม่น่าเป็นไปได้เลย เท่าที่พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น 
เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธะ ตรัสกายคตาสติที่ภิกษุเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว 
ว่ามีผลานิสงส์มากนี้” ข้อสนทนากันในระหว่างของภิกษุเหล่านั้น ค้างอยู่เพียงเท่านี้แล.

	ขณะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า เสด็จออกจากสถานที่ทรงหลีกเร้นอยู่ในเวลาเย็น 
เสด็จเข้าไปยังอุปัฏฐานศาลานั้น  ครั้นแล้วจึงประทับนั่ง ณ อาสนะที่เขาแต่งตั้งไว้ 
แล้วตรัสถามภิกษุทั้งหลายว่า

“ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บัดนี้พวกเธอนั่งประชุมสนทนากันเรื่องอะไร และพวกเธอสนทนา
เรื่องอะไรค้างอยู่ในระหว่าง?”

	ภิกษุเหล่านั้นทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ณ โอกาสนี้ พวกข้าพระองค์กลับจาก
บิณฑบาต ภายหลังเวลาอาหารแล้ว นั่งประชุมกันในอุปัฏฐานศาลา เกิดข้อสนทนากัน
ขึ้นในระหว่างดังนี้ว่า 

‘ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย น่าอัศจรรย์จริง!ไม่น่าเป็นไปได้เลย เท่าที่พระผู้มีพระภาคเจ้า
พระองค์นั้นผู้ทรงรู้ ผู้ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธะ ตรัสกายคตาสติที่ภิกษุเจริญ
แล้วทำให้มากแล้ว ว่ามีผลอานิสงส์มากนี้’ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้อสนทนากันในระหว่าง
ของพวกข้าพระองค์ได้ค้างอยู่เพียงนี้ พอดีพระผู้มีพระภาคเจ้าก็เสด็จมาถึง” 

	พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า “ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็กายคตาสติอันภิกษุเจริญแล้ว
อย่างไรทำให้มากแล้วอย่างไร จึงมีผลอานิสงส์มาก ?”............

	ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีก ภิกษุย่อมพิจารณากายนี้แล ตามที่ตั้งอยู่ ตาม
ที่ดำรงอยู่โดยธาตุ ว่ามีอยู่ในกายนี้ คือ ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุลม.

	ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนคนฆ่าโคหรือลูกมือของคนฆ่าโค ผู้ฉลาด ฆ่าโค
แล้วนั่งแบ่งเป็นส่วนๆ ใกล้ทางใหญ่ ๔ แยก ฉันใด  ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกันแล
ภิกษุย่อม พิจารณาเห็นกายนี้แล ตามที่ตั้งอยู่ ตามที่ดำรงอยู่ โดยธาตุ ว่ามีอยู่ในกายนี้ 
ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุลม. เมื่อภิกษุนั้นไม่ประมาท มีความเพียร ส่งตนไปในธรรมอยู่
อย่างนี้ ย่อมละความ ดำริพล่านที่อาศัยเรือนเสียได้ เพราะละความดำริพล่านนั้นได้ 
จิตอันเป็นไปภายในเท่านั้น ย่อมคงที่แน่นิ่ง เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งมั่น  ดูก่อนภิกษุทั้ง
หลาย แม้อย่างนี้ภิกษุก็ชื่อว่า 

เจริญกายคตาสติ.

	ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย  ประการอื่นยังมีอี ภิกษุเห็นศพที่เขา ทิ้งในป่าช้า อันตายได้
วันหนึ่งหรือสองวัน หรือสามวัน  ที่ขึ้นพองเขียวช้ำมีน้ำเหลืองเยิ้ม จึงนำเขามา
เปรียบเทียบกายนี้ว่า แม้กายนี้แลก็เหมือนอย่างนี้เป็นธรรมดา มีความเป็นอย่างนี้ 
ไม่ล่วงอย่างนี้ไปได้ เมื่อภิกษุนั้นไม่ประมาท มีความเพียร ส่งตนไปในธรรมอยู่อย่างนี้  
ย่อมละความดำริพล่านที่อาศัยเรือนเสียได้เพราะละความดำริพล่านนั้นได้ จิตอันเป็น
ไปภายในเท่านั้น ย่อมคงที่ แน่นิ่ง เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งมั่น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย 
แม้อย่างนี้ ภิกษุก็ชื่อว่า

เจริญกายคตาสติ.

	ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย  ประการอื่นยังมีอีก ภิกษุเห็นศพที่เขาทิ้งในป่าช้า อันฝูงกาจิกกิน
อยู่บ้างฝูงแร้งจิกกินอยู่บ้าง ฝูงนกตะกรุมจิกกินอยู่บ้าง หมู่สุนัขบ้านกัดกินอยู่บ้าง หมู่สุนัขป่า
กัดกินอยู่บ้างสัตว์เล็กสัตว์น้อยต่างๆ ชนิดย่อมกินอยู่บ้าง  จึงนำเข้ามาเปรียบเทียบกายนี้ว่า 
แม้กายนี้แลก็เหมือนอย่างนี้เป็นธรรมดา มีความเป็นอย่างนี้ ไม่ล่วงอย่างนี้ไปได้ เมื่อภิกษุ
นั้นไม่ประมาท มีความเพียรส่งตนไปในธรรมอยู่อย่างนี้ ย่อมละความดำริพล่านที่เป็น
เจ้าเรือนเสียได้ เพราะละความดำริพล่านนั้นได้ จิตอันเป็นไปภายในเท่านั้นย่อมคงที่ แน่นิ่ง 
เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งมั่น  ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ ภิกษุก็ชื่อว่า 

เจริญกายคตาสติ.
 
 	ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย  ประการอื่นยังมีอีก  ภิกษุเห็นศพที่เขาทิ้งในป่าช้า ยังคุมเป็น
รูปร่างอยู่ด้วย กระดูก มีทั้งเนื้อและเลือดเส้นเอ็นผูกรัดไว้ เห็นศพที่เขาทิ้งในป่าช้า 
ยังคุมเป็นรูปร่างด้วยกระดูก ไม่มีเนื้อ มีแต่เลือดเปรอะเปื้อนอยู่ เส้นเอ็นยังผูกรัดไว้ 
เห็นศพที่เขาทิ้งในป่าช้า ยังคุมเป็นรูปร่างด้วยกระดูก ปราศจากเนื้อและเลือดแล้ว 
แต่เส้นเอ็นยังผูกรัดอยู่ เห็นศพที่เขาทิ้งในป่าช้าเป็นท่อนกระดูก ปราศจากเส้นเอ็น
เครื่องผูกรัดแล้วกระจัดกระจายไปทั่วทิศต่างๆคือ กระดูกมืออยู่ทางหนึ่ง กระดูกเท้า
อยู่ทางหนึ่ง กระดูกแข้งอยู่ทางหนึ่ง กระดูกหน้าขาอยู่ทางหนึ่ง กระดูกสะเอวอยู่ทางหนึ่ง 
กระดูก สันหลังอยู่ทางหนึ่ง กระดูกซี่โครงอยู่ทางหนึ่งกระดูกหน้าอกอยู่ทางหนึ่ง กระดูก
แขนอยู่ทางหนึ่ง กระดูกไหล่อยู่ทางหนึ่ง กระดูกคออยู่ทางหนึ่ง กระดูกคางอยู่ทางหนึ่ง
กระดูกฟันอยู่ทางหนึ่ง กะโหลกศีรษะอยู่ทางหนึ่ง จึงนำเข้ามาเปรียบเทียบกับกายนี้ว่า 
แม้กายนี้แล ก็เหมือนอย่างนี้เป็นธรรมดา มีความเป็นอย่างนี้ ไม่ล่วงอย่างนี้ไปได้ 
เมื่อภิกษุนั้นไม่ประมาท มีความเพียรส่งตนไป ในธรรมอยู่อย่างนี้  ย่อมละความดำริพล่าน
ที่เป็นเจ้าเรือนเสียได้  เพราะละความดำริพล่านนั้นได้ จิตอันเป็นไป ภายในเท่านั้น 
ย่อมคงที่ แน่นิ่ง เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งมั่น ดูก่อนภิกษุทั้งหลายแม้อย่างนี้ ภิกษุ 
ก็ชื่อว่า

 เจริญกายคตาสติ.

	ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย  ประการอื่นยังมีอีก  ภิกษุเห็นศพที่เขาทิ้งในป่าช้า เป็นแต่กระดูก
สีขาวเปรียบดังสีสังข์ เห็นศพที่เขาทิ้งไว้ในป่าช้าเป็นท่อนกระดูกเรี่ยราดเป็นกองๆ 
มีอายุเกินปีหนึ่ง... 

	เห็นศพที่เขาทิ้งในป่าช้า เป็นแต่กระดูกผุเป็นจุณ จึงนำเข้ามาเปรียบเทียบกับกายนี้ว่า
แม้กายนี้แล ก็เหมือนอย่างนี้เป็นธรรมดา มีความเป็นอย่างนี้ ไม่ล่วงอย่างนี้ไปได้ เมื่อภิกษุ
นั้นไม่ประมาท มีความเพียรส่งตนไปในธรรมอยู่อย่างนี้ ย่อมละความดำริพล่านที่เป็น
เจ้าเรือนเสียได้ เพราะละความดำริพล่านนั้นได้ จิตอันเป็นภายในเท่านั้น ย่อมคงที่ แน่นิ่ง
เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งมั่น ดูก่อนภิกษุทั้งหลายแม้อย่างนี้ ภิกษุก็ชื่อว่า 

เจริญกายคตาสติ.

	ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไรๆ ก็ตาม เจริญกายคตาสติแล้ว ทำให้มากแล้ว ชื่อว่า
เจริญและทำให้มากซึ่ง

กุศลธรรมส่วนวิชชา

อย่างใดอย่างหนึ่งอันรวมอยู่ในภายในด้วย

	ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนบุคคลไรๆ ก็ตาม  นึกถึงมหาสมุทรด้วยใจแล้ว 
ชื่อว่านึกถึงแม่น้ำน้อยที่ไหลมาสู่สมุทรสายใดสายหนึ่งอันรวมอยู่ในภายในด้วย ฉันใด  
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นก็เหมือนกันแล ภิกษุไรๆ ก็ตาม เจริญกายคตาสติแล้ว ทำให้
มากแล้วชื่อว่าเจริญและทำให้มาก ซึ่ง

กุศลธรรมส่วนวิชชา 

อย่างใดอย่างหนึ่งอันรวมอยู่ในภายในด้วย. 

                  
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่มที่ ๒๒ หน้า ๓๘๘ – ๓๙๔
(กายคตาสติสูตร)เล่มสีน้ำเงิน ชุด๙๑ เล่ม มหามกุฏราชวิทยาลัย
ประกาศ

เนื่องจากคณะผู้จัดทำมีวัตถุประสงค์เพื่อต้องการเผย
แผ่คำสอนของพระพุทธเจ้า
และเปิดเผยความจริงโดย
ไม่มีวัตถุประสงค์อื่น


สื่อจากสำนักปฏิบัติธรรม
ดอยเวียงเกี๋ยงวนา
แจกฟรีไม่มีการขาย

 

ธรรมะ
เสียงธรรม

 ส่วนสุด(โต่ง) และ การปฏิบัติต่อความทุกข์

 ระวังใจ

 ติดดี

 จุดประสงค์ของการรักษาศีล

 กิเลสกับเรา

 ยากที่ด่านแรก

 ฝึกทำสมาธิโดยอาศัยความคิด

 ปัญญา. รู้ชัดการละ

 โลกนี้ตั้งอยู่ได้ด้วยการให้

 เทศน์วันถวายโรงครัว 1 ระลึกถึงความตายกับการเข้าสู่มรรค

 เทศน์วันถวายโรงครัว 2 จิต-สติ-ความคิด สักกายทิฏฐิ-วิจิกิจฉา-สีลัพพตปรามาส

 เทศน์วันถวายโรงครัว 3 _สมาธิ ๔ ประเภท

 เทศน์วันถวายโรงครัว

 เคล็ดการดู(สัญญา)ขันธ์

 เครื่องคุ้มครองผู้ปฏิบัติ

 อ.ต้น สอนนั่งสมาธิ

 ผู้กล้าหรือผู้กลัว

 ที่พึ่งในใจจริงๆ

 ชอบ-ชัง ภาค 2

 ฉฬายตนวิภังคสูตร

 องค์แห่งโพชฌงค์ในจิต

 เมตตาจิตกับการก้าวล่วง

 ศาสนาแห่งความกล้า

 ฟังด้วยดี ย่อมได้ปัญญา

 โปฏฐปาทสูตร 2